กาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร


กาพย์เห่เรือ  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร                                                            

 Homepage



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ผู้แต่ง    เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)  พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
รูปแบบ
แต่งเป็น  กาพย์ห่อโคลง  มีโคลงสี่สุภาพนำ  1  บท  เรียกว่าเกริ่นเห่  และตามด้วยกาพย์ยานี 11  พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท
จุดประสงค์ในการนิพนธ์  
คือ  ช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมารคเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  การเห่เรือ นอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว  ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย
เนื้อเรื่องย่อ  
กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง  และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ  เรือ ครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี  เห่ ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่ ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่  หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ  เห่ ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน  เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน
คุณค่าที่ได้รับ
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
2. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ และให้อารมณ์ความรู้สึกดี
3. ศิลปะการแต่งดี  มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา  การเล่นคำ  การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง  คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
คุณค่าทางด้านสังคม
1. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
2. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  และประเพณีการเห่เรือ
3. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี  ต่านิยม  และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง  มารยาท  ยิ้มแย้มแจ่มใส  และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น
อ้างอิง https://kingkarnk288.wordpress.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไตรภูมิพระร่วง

ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฏีกา